Agile (Agile Method) มาจากคำว่า Agility ที่หมายถึงความคล่องตัว แนวคิดวิธีการทำงานนี้ถูกคิดค้นขึ้นมาจากการพยายามแก้ปัญหาในการ “พัฒนาซอฟต์แวร์” ให้ตอบโจทย์ของลูกค้า จาก Pain point ที่ว่า สิ่งที่ลูกค้าต้องการในครั้งแรก ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของความต้องการ ทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแบบเดิม ๆ เป็นการสิ้นเปลืองเวลาโดยใช่เหตุ

ลองคำนึงถึงเวลาการทำงานจริง ๆ สิ่งที่สามารถทำให้เกิดผลงานที่ใช้ได้จริง ก็คือคนทำงาน ความรู้วิธีการทำงานเพื่อที่จะได้ทราบว่าควรปฏิบัติงานอย่างไร และเครื่องมือที่สามารถทำให้เนื้องานสำเร็จ แต่ Agile เป็นแนวคิดที่เน้นหนักและให้ความสำคัญไปที่ตัวบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) กับงาน ไม่ว่าจะเป็นทีมงาน ผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือแม้แต่ตัวลูกค้าเอง พยายามให้มีการสื่อสารกันให้ได้มากที่สุด เพื่อได้ข้อสรุปที่ชัดเจน หรือไม่ก็ได้วิธีการที่ลูกค้าพึงพอใจที่สุด
“การที่ไม่เคยลองสิ่งที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อนก็ไม่มีทางนึกออกว่าชอบหรือไม่ชอบ”
นอกเหนือจากเรื่องทีมงานแล้ว เรื่อง Process ก็สำคัญ อย่างที่ทราบกันดีว่า แบบแผนของ Agile นั้นจะแตกต่างจากแบบ Waterfall ที่ต้องรอให้กระบวนการแต่ละอย่างค่อย ๆ เสร็จและส่งต่อกันไปทีละขั้น ยกตัวอย่างเช่น การผลิตสินค้าหนึ่งชิ้น (ตามภาพ) ในระยะเวลาเดียวกัน กระบวนการของการทำงาน
แต่ว่าด้วย Mindset แบบ Agile ถ้าหากมีสิ่งไหนสามารถทำได้ก่อน ไปพร้อม ๆ กันก็สามารถทำได้เลย อย่างเช่นการสำรวจ และการออกแบบ สามารถออกแบบได้ล่วงหน้า เมื่อได้รับผลของการสำรวจตลาดก็มาปรับปรุงเพิ่มเติม เพื่อความรวดเร็วในการผลิตและปล่อยผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อได้รับ Feedback ให้กลับมาได้เร็ว ยิ่งเร็วมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพื่อสามารถนำข้อที่ควรปรับปรุงมาแก้ไขผลิตภัณฑ์ในอนาคตต่อ ๆ ไป

ซึ่ง Scrum จะเป็น Project Management Framework ที่เป็นเครื่องมือที่ทำให้ Agile เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่าง ได้ผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์ ถูกใจลูกค้า แถมส่งมอบงานได้ทันกำหนดการ ในบทความนี้เราจะมาแชร์ไอเดียในการนำ Agile และ Scrum ไปประยุกต์ในการทำงานในส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง... งานที่มีลักษณะเป็น “โปรเจกต์” และมีผลสำเร็จเป็น “ผลิตภัณฑ์” ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง อย่างเช่น
โปรเจกต์ campaign ทางการตลาด (โฆษณา/อีเวนต์/โซเชียลมีเดีย)
โปรเจกต์การพัฒนาสินค้าสู่สายการผลิต เป็นต้น
การทำ Scrum จะการมีการวางตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้
👨💼 PO (Product Owner) คนที่ใกล้ชิดลูกค้ามากที่สุดพร้อมแจกจ่ายภาระงานตามที่ได้รับ Requirement จากลูกค้า
👩🔧 Scrum Master ผู้ประเมินปัญหา และระดมหาทางออกเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาระหว่างขั้นตอนการทำงาน
👨💻 Developer ทีมคนทำงานที่อาจจะประกอบไปด้วยคนหลากหลายตำแหน่งที่ร่วมกันทำงานในโปรเจคเดียวกัน
ยกตัวอย่างเช่น คุณมานะ เป็นหัวหน้าแผนกฝ่ายการตลาด ของแบรนด์ยาสีฟันเจ้าหนึ่ง ได้รับโจทย์มาว่า...
“ต้องการทำแคมเปญโฆษณาสำหรับประชาสัมพันธ์สินค้าใหม่ผ่านทาง Facebook ”
คุณมานะที่เป็น PO ต้องเริ่มจากการที่ต้องคิดกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับงานงานนี้
และต้องวัดผลผ่าน Engagement ที่ได้พร้อมยอดสั่งจองล่วงหน้า (Pre-order)
โดยเราสามารถแบ่ง Process การทำงานได้ดังนี้
Requirement | สินค้าขนาดทดลองเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์สินค้า
Product Backlog | สิ่งที่ต้องทำทั้งหมดเพื่อให้เกิด และอื่น ๆ อีกผลิตภัณฑ์มากมายตามกระบวนการ
Process Sprint | นำตัว backlog ทยอยเข้าทำใน Process โดยกำหนดเวลาอย่างชัดเจน (ตามความเหมาะสม)
Test/Review | ส่งตรวจงานวันต่อวัน เพราะว่าแบบอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จนกว่าจะได้แบบที่ดีที่สุด
Mistake List | สุดท้ายรีบหาข้อผิดพลาดจากการตรวจทานให้ได้เพื่อนำไปสู่การแก้ไข
Sprint Fixing Backlog | แก้ไขข้อผิดพลาดตามที่ลิสต์มาได้ โดยมีการกำหนดระยะเวลาชัดเจน (milestone/วันส่งมอบตาม phase)
Product Launch (Production) | นำส่วนงานที่ได้รับการแก้ไขแล้วมาใช้งาน
Resource/Document | เอกสารแนบที่ต้องยื่น หนังสือขออนุญาตต่าง ๆ (พยายามตัดเอกสารที่ไม่จำเป็น)

การนำ Scrum มาใช้ แต่การจดบันทึกบนกระดาษแบบเดิม ๆ อาจเป็นเรื่องที่ตกยุคไปแล้ว เรามีระบบ Task Management ที่สามารถทำได้บนออนไลน์ วาง Scrum framework ได้สะดวกสบาย ปรับแต่งตามความเหมาะสมของโปรเจกต์นั้น ๆ อย่าง manawork.com ทำควบคู่ไปกับการประชุมประจำวัน (Daily Scrum) เพื่อรายงานความคืบหน้า ปัญหาและอุปสรรคระหว่างทาง เพื่อที่จะได้ช่วยกันหาทางออกใส่ลงไปใน Sprint Backlog เพื่อเตรียมแก้ไข และอย่างที่กล่าวไว้ในข้างต้นว่ายิ่งทำให้เร็ว และทดสอบให้ได้ Feedback ให้เร็วที่สุดก็ยิ่งทำให้ใกล้ความสำเร็จมากที่สุดเช่นกัน...
ครั้งต่อไปเรามาดูกันว่า เทคนิคการทำ Sprint ในโปรเจคให้คล่องแคล่วสมกับการเป็น Agile ต้องทำอย่างไร พร้อมเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยที่พลาดไม่ได้
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คลิก!!!👉 manawork.com หรือ โทร 063-535-1196 (ทีม MANAWORK)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทางทีมงานได้ทาง Facebook หรือ Line
หรือ สนใจเข้าใช้ระบบ MANA มานะ ที่นี่
— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — —
#MANA มานะ
