
OKR vs KPI เข้าใจความแตกต่าง เลือกอย่างไรให้เหมาะกับองค์กรคุณ

หลายๆ คนน่าจะคุ้นชินกับ KPIs เพราะสำคัญมากกับการทำงาน เพราะมันเป็นตัววัดผลว่าคุณทำงานได้ดีมากน้อยแค่ไหน แถมยังมีผลกับการขึ้นเงินเดือน และโบนัสอีก แต่ในช่วงหลังมานี้ มีอีกคำหนึ่งที่พูดถึงหนึ่งชี้วัดผลสำเร็จของงานเช่นกัน และเริ่มที่ได้ยินบ่อยขึ้น นั่นคือ OKRs นั่นเอง
เมื่อทั้งสองคำ พูดถึงเรื่องคล้ายกันขนาดนี้ ทำให้เกิดคำถามยอดฮิต ที่หลายคนน่าจะเคยเจอคือ OKRs vs KPIs ต่างกันยังไง? แล้วสามารถใช้ร่วมกันได้ไหม? วันนี้เราจะอธิบายให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย
พัฒนาองค์กรของคุณด้วยระบบการสื่อสารภายในที่มีประสิทธิภาพ คลิก
ความแตกต่างระหว่าง OKRs vs KPIs
เมื่อพูดถึงการวางแผนและวัดผลการดำเนินงาน OKRs และ KPIs เป็นกรอบการวัดผลที่นิยมใช้ในวงการธุรกิจมากๆ แม้ว่าทั้งสองคำนี้จะใช้ในการวางแผนและวัดผลการดำเนินงานเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เพื่อที่จะเข้าใจความแตกต่างระหว่างสองคำนี้ให้ชัดเจน เรามาดูกันก่อนว่า แต่ละคำคืออะไร และมีข้อดีอย่างไรบ้าง
เมื่อพูดถึงการวางแผนและวัดผลการดำเนินงาน OKRs และ KPIs เป็นกรอบการวัดผลที่นิยมใช้ในวงการธุรกิจมากๆ แม้ว่าทั้งสองคำนี้จะใช้ในการวางแผนและวัดผลการดำเนินงานเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เพื่อที่จะเข้าใจความแตกต่างระหว่างสองคำนี้ให้ชัดเจน เรามาดูกันก่อนว่า แต่ละคำคืออะไร และมีข้อดีอย่างไรบ้าง
KPIs คืออะไร มีข้อดีอย่างไร

KPIs (Key Performance Indicators) คือ ดัชนีชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จ เทียบผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐานหรือเป้าหมายที่ตกลงกันไว้ เป็นวิธีการประเมินผลงานของพนักงาน และยังเป็นวิธีที่องค์กรสามารถใช้ในการวัดและประเมินผลความก้าวหน้า เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร โดยสามารถใช้ผลลัพธ์ไปปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้อีกด้วย
สำหรับการประเมินความสำเร็จของธุรกิจ โดยทั่วไปแล้วมาประเมินจาก 4 มุมมองสำคัญ คือ การเงิน ลูกค้า กระบวนการภายใน และการเรียนรู้ พัฒนา โดยองค์กรจะกำหนด KPIs หรือตัวชี้วัดสำคัญๆ ในแต่ละมุมมอง มาเป็นมาตรวัดความสำเร็จขององค์กรในแต่ละด้าน สิ่งที่ KPIs ควรจะมีคือ
- เชื่อมโยงกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
- พุ่งเป้าหมายไปยังทรัพยากรที่มีอยู่
- วัดผลให้ตรงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
- มีการกำหนดขอบเขตระยะเวลาที่ชัดเจน
ข้อดีของการใช้ KPIs
- ช่วยปรับปรุงผลการดำเนินงาน การตรวจสอบและวัดผล KPIs ช่วยให้องค์กรสามารถระบุปัญหาและปรับปรุงผลการดำเนินงานได้เร็วขึ้น
- ช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น การใช้ KPIs ช่วยให้ผู้บริหารทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น เพราะมีข้อมูลที่มีคุณภาพไปใช้ในการวิเคราะห์
- ช่วยประเมินผลการดำเนินงาน การวัดผล KPIs ช่วยให้องค์กรสามารถประเมินผลการดำเนินงานในเวลาที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ช่วยสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ในธุรกิจที่ใช้การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นจุดแข็ง การตั้ง KPIs ที่เกี่ยวข้องกับการบริการลูกค้า ช่วยให้องค์กรสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าและสร้างความเชื่อมั่นในการซื้อขายได้
OKRs คืออะไร มีข้อดีอย่างไร

OKRs (Objectives and Key Results) เป็นกระบวนการวางเป้าหมายและวัดผลในการบริหารจัดการ โครงสร้างของ OKRs ประกอบไปด้วย O+KR ที่มาจาก Objectives และ Key Results นั่นเอง โดยความหมายของแต่ละองค์ประกอบคือ
Objectives : เป้าหมายหลักขององค์กรหรือหน่วยงาน ช่วยกำหนดทิศทางขององค์กรว่าจะต้องทำอะไรเพื่อให้เป้าหมายเกิดขึ้นได้จริง
Key Results : ตัวชี้ ที่ใช้วัดช่วยในการติดตามผลลัพธ์ วัดความสำเร็จของเป้าหมายหลัก (Objectives)
โดย OKRs ควรมีลักษณะดังนี้
- มีความท้าทายเพียงพอ
- มีระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน
- สามารถให้คะแนนได้
- เน้นพัฒนาศักยภาพและการเรียนรู้ของพนักงานมากกว่าการให้รางวัลตอบแทน
- เน้นผลลัพธ์ไม่ได้เน้นคำว่างาน
- OKRs ต้องมีความเชื่อมโยงกับทั้งองค์กร (บริษัท ฝ่ายต่างๆ และทีมงาน)
ข้อดีของการใช้ OKRs
- ช่วยชั่งน้ำหนักเป้าหมาย OKRs ช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานเข้าใจได้อย่างชัดเจนว่าเป้าหมายสำคัญขององค์กรคืออะไร และเป็นอย่างไรในแต่ละปี โดยการกำหนดเป้าหมายแต่ละตัวด้วย Key Results ที่ชัดเจน จะช่วยชั่งน้ำหนักและระบุความสำคัญของเป้าหมายได้อย่างชัดเจนด้วย
- สร้างทีมทำงานที่มุ่งมั่น การกำหนด OKRs ช่วยให้ทุกคนในทีมมุ่งมั่นเพื่อการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยการสร้างสรรค์และติดตามการดำเนินงานที่มุ่งมั่นไปสู่เป้าหมาย ช่วยสร้างความผูกพันและความรับผิดชอบร่วมกันภายในทีมทำงานได้อย่างดี
- ช่วยปรับปรุงการทำงาน การวัดผลลัพธ์ด้วย Key Results ช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานเห็นว่าองค์กรหรือฝ่ายงานกำลังดำเนินการไปในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ และช่วยปรับปรุงการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
- ช่วยสร้างวัฒนธรรมการทำงาน การใช้ OKRs ช่วยสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นการพัฒนาตนเองและการทำงานเป็นทีม โดยที่ผู้ใช้ OKRs จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมาย
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นกรณีนักว่ายน้ำ “นายมานะ” เป็นนักว่ายน้ำ สร้าง KPIs ให้ตัวเองว่าจะต้องว่ายน้ำให้ได้วันละ 1 กิโลเมตร พร้อมกำหนดอัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการเผาผลาญพลังงาน ที่จะต้องทำให้ถึงในแต่ละวัน
ในขณะที่นายมนัส อยากออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำ สร้าง OKRs ให้กับตัวเอง โดยมี Objectives คือ อยากมีสุขภาพแข็งแรง และมีทักษะในการว่ายน้ำที่ดี โดยมี Key Results คือระยะที่ว่ายได้สูงสุดในแต่ละสัปดาห์ แล้วค่อยๆ ปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีความพร้อม
จะเห็นได้ว่า KPIs เหมาะกับองค์กรที่มีเป้าหมายเป็นตัวเลขชัดเจน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งนัก เน้นให้เกิดผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดต่างๆที่วางไว้อย่างแข็งขัน
ในขณะที่ OKRs เหมาะกับองค์กรที่มีเป้าหมายชัดเจน แต่มองเห็นว่ามีแนวทางหลากหลายในการนำไปสู่ผลลัพธ์ และยืดหยุ่นมากพอ ที่จะปรับเปลี่ยนเป้าหมายและวิธีการระหว่างทางได้ เพื่อเปิดโอกาสให้กับความคิดสร้างสรรค์ โดยเฉพาะองค์กรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
ถ้าคุณกำลังอยากรู้ว่า KPIs หรือ OKRs คือ กุญแจแห่งความสำเร็จขององค์กร อ่านต่อ คลิก
ข้อแตกต่างที่องค์กรต้องรู้

ข้อแตกต่างระหว่าง OKRs (Objectives and Key Results) และ KPIs (Key Performance Indicators) ที่องค์กรต้องรู้ เราแยกย่อยเป็นประเด็นต่างๆ ให้เห็นได้ชัดเจน ดังนี้
จะเห็นได้ว่าข้อแตกต่างระหว่าง OKRs vs KPIs มีประเด็นสำคัญหลากหลาย แต่ที่สำคัญทั้งสองเรื่องพูดเหมือนกันในเรื่องเป้าหมาย เพียงแต่แตกต่างกันในรายละเอียดวิธีการ และจุดสนใจ ที่สุดแล้วองค์กรสามารถเลือกได้ว่าจะใช้อันไหน หรือจะปรับใช้ทั้งสองอย่าง ร่วมกัน
OKRs vs KPIs ใช้อะไร ดีกว่า?

ทั้ง KPIs และ OKRs ล้วนพูดถึงการวางเป้าหมายเช่นเดียวกัน แต่มีลักษณะของตัวเองที่แตกต่างกันหลายประเด็น หลายคนคงกำลังสงสัยอยู่ว่า แล้วทีนี้จะเลือกใช้อะไร ที่สุดแล้ว อันไหนดีกว่ากัน
จริงๆแล้ว เพื่อความก้าวหน้าขององค์กร และความปังของธุรกิจ เราสามารถใช้ทั้ง KPIs และ OKRs ร่วมกันได้ โดย KPIs เปรียบเสมือน “มาตรวัดสุขภาพขององค์กร” ถ้าทำถึงเป้า ก็แปลว่าองค์กรนั้นๆ สุขภาพดี ในขณะที่ OKRs คือหลักชัย หรือ Milestone ที่ปักหลักรอไว้ ให้เหล่าทีมงานมุ่งไปให้ถึง เพื่อที่จะต่อยอดหรือไปต่อ สู่เป้าหมายต่อไปเรื่อยๆ ถ้ามีอะไรผิดพลาด หรือส่วนไหนถ่วงรั้งการไปถึงเป้าหมายไว้ ก็สามารถพูดคุยปรับเปลี่ยนกันได้ เพื่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร
บอกเลยว่าทั้ง KPIs และ OKRs ล้วนมีความสำคัญกับการไปถึงเป้าหมาย ไม่จำเป็นเลยที่องค์กรจะต้องเลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งมาประใช้ในองค์กร เพราะทุกวันนี้องค์กรที่เคยใช้แค่ KPIs ก็เริ่มทยอยปรับ ขยับมาใช้ OKRs ควบคู่กันไปด้วย
องค์กรยุคใหม่ ใช้แค่ KPIs ทำไมถึงไม่เวิร์ค
มีหลายเหตุผลที่เพียง KPIs เพียงอย่างเดียว เริ่มไม่เวิร์คสำหรับองค์กรในปัจจุบัน โดยเราลิสต์มาให้คุณได้ดังนี้
- มาตรวัดมากเกินไป : ในการวัดผล ผู้กำหนดมักกำหนดมาตรวัดที่มากเกินไป โดยอาจไม่ได้รู้จักงานในส่วนนั้นๆ มากเพียงพอ ทำให้ผู้ทำงานไม่สามารถโฟกัสสิ่งที่ควรจะโฟกัสได้มากเพียงพอ
- ตั้งเป้าสูงเกินไป : หลายครั้ง KPIs ถูกตั้งมาจากเป้าหมายโดยรวมขององค์กร แต่ไม่ได้สะท้อนงานที่ทำจริงๆ ในตำแหน่งนั้นๆ
- การเก็บข้อมูลและการติดตามผล : นี่เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากการสร้าง KPIs ที่ไม่สะท้อนการทำงานจริง โดยยึดจากเป้าหมายขององค์กรเป็นหลัก ทำให้เมื่อเก็บข้อมูลหรือติดตามผลการทำงานจริงๆ สิ่งที่โฟกัสเพื่อวัดผลนั้นไม่สอดคล้องกับงาน
- เพียงทำให้ครบๆ ไปอย่างนั้น : หาก KPIs ถูกติดตามผล เพื่อจุดประสงค์ในการรายงานหรือเพียงเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการประสิทธิภาพการทำงานเท่านั้น องค์กรจะสูญเสียเวลาและแรงจูงใจให้พนักงานได้พูดคุยถกเถียงกันในเรื่องสำคัญอื่นๆ เพราะมัวแต่จะทำสิ่งที่ KPIs จะวัด ให้ครบๆ ไปเท่านั้น
KPIs ที่จับคู่กับ OKRs จะช่วยเปิดพื้นที่ให้พนักงานได้พูดคุยกันถึงเรื่องที่สำคัญจริงๆ และให้โอกาสพวกเขาได้ส่งเสียงในการสร้างมาตรวัดที่สะท้อนการทำงานจริงๆ ของตัวเอง
OKRs vs KPIs ปรับใช้ยังไง ให้ทุกเป้าหมายขององค์กรสำเร็จ

การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของธุรกิจเทียบกับเป้าหมาย KPIs ช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจว่าธุรกิจยืนอยู่ที่ใดและจะดำเนินต่อไปได้อย่างไร หากไม่มี KPIs บริษัทอาจสูญเสียทิศทางและเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นเรื่องยากที่จะเป็นผู้นำบริษัทที่ทำงานได้ดีและมีการจัดการที่ดี หากคุณไม่ได้วัด KPIs
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเหล่านี้ไม่ได้บอกคุณโดยตรงว่าจะตอบสนองหรือปรับปรุงได้อย่างไร คุณไม่สามารถทำให้ธุรกิจเติบโตได้ด้วยการพูดว่า “เราต้องบรรลุเป้าหมายรายได้ที่สูงขึ้น” หากคุณตามเป้าหมาย KPIs ไม่ทัน คุณต้องปรับปรุงอะไรกันแน่เพื่อให้ทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิม นั่นคือที่มาของ OKRs
OKRs ทำให้ทีมและพนักงานมองเห็นจุดโฟกัสที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และมี Key Results ที่สร้างขึ้นโดยสะท้อนงานที่พวกเขาทำจริงๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นนักแข่งรถ คุณอาจมี KPIs ที่จะชนะการแข่งขันรายเดือน และได้รับเงินรางวัลเป็นจำนวนหนึ่งๆ เมื่อเวลาผ่านไป ผลงานของคุณย่ำแย่ลง และทำรายได้ไม่ถึงตาม KPIs เพื่อจัดการกับปัญหา คุณใช้ OKRs เป็นเครื่องมือ โดยกำหนด OKRs ที่เน้นการปรับปรุงสมรรถนะ ของรถยนต์ที่ใช้ภายใน OKRs นั้น คุณสามารถกำหนด Key Results ที่จะทำหน้าที่เป็น KPIs ของคุณได้
Objectives = เพิ่มรายได้ต่อปีจากการแข่ง 100,000 บาท
Key Results 1 : เพิ่ม rocket thrusters สองอันเข้าไปในรถของคุณเพื่อเพิ่มความเร็ว
Key Results 2: คลายเกลียวล้อข้างหนึ่งออกจากรถของคนอื่นๆ
Key Results 3: สวมหมวกที่เล็กลงเพื่อความคล่องตัวที่มากขึ้น
เมื่อคุณบรรลุ Key Results ก็จะทำให้คุณบรรลุ Objectives และ KPIs ไปด้วย OKRs และ KPIs เป็นคู่หูแห่งความสำเร็จ คุณสามารถใช้ KPIs เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในระยะสั้นและระบุปัญหาได้ ในขณะที่ OKRs จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้น ปรับปรุงกระบวนการของคุณ และขับเคลื่อนนวัตกรรมในระยะยาว
สรุป
ทั้ง KPIs และ OKRs ล้วนพูดถึงการตั้งเป้าหมายขององค์กร เพียงแต่ OKRs นั้นมีลักษณะที่ยืดหยุ่น และจับต้องได้ง่ายกว่า KPIs แต่ KPIs ก็ทำหน้าที่ในการเป็นภาพใหญ่ที่ทำให้คนทำงานเห็นภาพที่ทางของตัวเองได้ชัดเจน ซึ่งทั้งคู่ทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้อย่างดี ภายใต้สถานการณ์ที่เหมาะสม สุดท้ายนี้ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเหมาะสมกับ KPI หรือ OKR การจะผลักดันให้เกิดความคืบหน้าและผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
MANAWORK.COM ระบบที่จะช่วยให้การทำงานของคุณกับทีมกลายเป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ตาม พร้อมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
- Facebook: Manawork
- E-mail: support@manawork.com
- โทร. (+66) 52 005 402 หรือ (+66) 63 535 1193
