ครั้งนี้ได้รับภารกิจให้สอน Design Thinking แบบ Online ถือว่าเป็นภารกิจที่ท้าทายความสามารถสุดๆ เพราะการเรียน Design Thinking ที่จะให้ได้ผลนั้นต้องมีการทำ Workshop ซึ่งคอร์สที่ทีมเราได้ออกแบบไว้นั้นมี Workshop ค่อยข้างเยอะ เพื่อให้ผู้เรียนได้คิด สร้างสรรค์ พัฒนา ต่อยอดกับธุรกิจของตนเอง
แล้วทำอย่างไรให้การสอนแบบ online ได้ผลเท่ากับหรือใกล้เคียงกับการสอน offline ล่ะ?
คำตอบ: เราต้องสร้างสภาวะแวดล้อมให้เหมือนกับการสอน Offline นั้นเอง
อุปกรณ์และสิ่งที่เราต้องมีคือ
- สถานที่ที่ใช้สอน ส่วนนี้สำคัญสำหรับผู้สอนมาก
- Zoom เอาไว้ Live สอน (ส่วนตัวคิดว่าเป็นระบบที่เสถียรสุดละ)
- Slide ที่ใช้สอน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเห็นภาพและเข้าใจ content ได้ดีขึ้น
- MANA มานะ เอาไว้ทำ workshop ระหว่างเรียนและใช้แชร์ไฟล์ต่างๆ
เริ่มจากการจัดสถานที่ให้มีความเหมาะสมกับการสอน

- ห้องควรกว้างพอประมาณ เพื่อจะทำให้เวลาพูดเสียงจะได้ไม่ก้อง
- การวางอุปกรณ์ Notebook และจอมอนิเตอร์ แนะนำให้มี 2 จอเวลาสอนนะครับ จอขวาเอาไว้เปิด Slide จอซ้ายเอาไว้เป็นโปรแกรม Zoom จะได้เห็นหน้าผู้ฟัง
- ตำแหน่งการวางจอมอนิเตอร์และ Notebook ควรอยู่ระดับสายตาผู้สอน เพื่อให้ผู้ฟังและผู้พูดอยู่ในระดับเดียวกันซึ่งจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกเป็นกันเอง
- ไม่นั่งเก้าอี้ เราคิดว่ายืนสอนมันได้อารมณ์กว่านั่งสอน แต่ก็มีเก้าอี้เพื่อพิงบางเวลารู้สึกเมื่อย
- แสงในห้องควรสว่าง จากในภาพเราใช้ไฟวงแหวนเพื่อความสว่างทำให้ภาพออกมาสดใสขึ้น
ส่วนอื่นๆ อาจจะเป็นองค์ประกอบเสริมนะครับ อาทิเช่น ที่วางสมุด น้ำเปล่า กาแฟ เป็นต้น ที่สำคัญควรเตรียมเครื่องดื่มให้พร้อม เพราะว่าเราต้องช่วยเหลือตัวเองตลอดการสอน
ใช้โปรแกรม Zoom สำหรับถ่ายทอดสดการสอน

จากประสบการณ์ในการ Live หรือ Present งาน โปรแกรมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเราคือ Zoom เพราะเวลาเปิดโปรแกรมอื่นหรือแชร์ Slide ไม่ค่อยกระตุก (เราใช้ Notebook RAM 8Gb) และที่เจ๋งของ Zoom คือสามารถแบ่งห้องได้หลายห้อง เหมาะมากสำหรับการจัดกลุ่มแบ่งกันทำ Workshop เป็นกลุ่มๆ เหมือนเราสอนอยู่ในห้องเรียนจริงๆเลย
ใช้โปรแกรม MANA (มานะ) สำหรับทำ Workshop

ถือว่าเป็นมิติใหม่ของการสอน Online เลยทีเดียว เวลาเราสอน Design Thinking เราจะสอนไปทีละ Step ซึ่งแต่ละ Step จะมี Workshop โดยในโปรแกรม MANA มานะ จะแบ่งเป็นคอลัมน์ๆ ซึ่งเราออกแบบมาให้แต่ละคอลัมน์เท่ากับ 1 Step

Step ที่ 1-5 ก็จะแบ่งเป็น Empathize, Define, Ideate, Prototype และ Test ตามลำดับ เราก็จะสอนแล้วให้ผู้เรียนใส่ข้อมูลในแต่ละคอลัมน์ตาม Workshop ไปเรื่อยๆ ในขณะที่คอลัมน์ Resource (ซ้ายมือสุด) จะเอาไว้แชร์ข้อมูลต่างๆ เช่น Slide การสอน เป็นต้น
การใช้ โปรแกรม MANA มานะ ในการสอนค่อยข้างตอบโจทย์ เพราะเป็นโปรแกรมที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับใช้กับงานได้ค่อยข้างหลากหลาย
บรรยากาศในการสอน

รู้สึกว่าใช้พลังในการสอนมากกว่าที่เคยสอนในห้องเรียนจริงๆซะอีก แต่ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีเหมือนกันนะครับ ถ้าไม่มีวิกฤติโควิด 19 ก็คงไม่โอกาสได้เรียนรู้เครื่องมือที่เป็นประโยชน์แบบนี้
ขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้โอกาสสอนและแชร์ประสบการณ์ในการประยุกต์ใช้ความรู้กับธุรกิจเพื่อยกระดับให้ผู้ประกอบการทุกท่านได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดครับ
สามารถทดลองใช้ฟรี*📱แค่คลิก👉 app.manawork.com/signup
แล้วคุณจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้นหลังใช้งานระบบ
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คลิก!!!👉 https://manawork.com/
หรือ โทร 063-535-1196 (ทีม MANAWORK)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทางทีมงานได้ทาง Facebook หรือ Line
หรือ สนใจเข้าใช้ระบบ MANA มานะ ที่นี่
— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — —
#MANA มานะ
