Digital Tools

[Case Study] เปิดตัวอย่าง OKR เพื่อการตั้งเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

[Case Study] เปิดตัวอย่าง OKR เพื่อการตั้งเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่าง OKR

หลังจากที่บริษัทระดับโลกอย่าง Google ได้เขียนประโยคที่บอกว่า OKR ช่วยให้องค์กรของเขาเติบโตและประสบความสำเร็จ ลงในหนังสือชื่อดังอย่าง Measure What Matters ทำให้นักธุรกิจและผู้บริหารหลายคนเริ่มหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำ OKR เพื่อหวังผลให้องค์กรของตนเองเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ถึงจะพยายามทำความเข้าใจแล้ว แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าจะกำหนด OKR ยังไงดี มีตัวอย่าง OKR ที่จะช่วยให้เข้าใจการทำ OKR มากขึ้นไหม ?

บทความนี้จะพาทุกคนไปดูกับ ตัวอย่าง OKR ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วอย่าง Google Chrome ว่าทีมงานสามารถทำอย่างไรจึงเอาชนะ Internet Explorer ที่ครองตลาดใหญ่ในอดีตได้ ถ้าหากพร้อมแล้วไปหาคำตอบพร้อมกันเลยดีกว่า

ทำไมหลายธุรกิจถึงให้ความสำคัญกับการทำ OKR ?

ก่อนจะไปดูตัวอย่าง OKR หลายคนน่าจะสนใจกันใช่ไหมคะ ว่าทำไมหลาย ๆ ธุรกิจถึงให้ความสำคัญกับการทำ OKR ? จริง ๆ แล้วมีเหตุผลอยู่ค่ะ

โดยการทำ OKR เป็นการตั้งเป้าหมายโดยทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกหรือถูกกระตุ้น ให้อยากทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้สำเร็จ เพื่อพนักงานสามารถทำตามเป้าหมายได้ นอกจากจะได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองแล้วยังส่งผลดีกับองค์กร

นอกจากนี้การทำ OKR ยังเป็นการระดมความคิดของทุกคนภายในทีม และในระหว่างกระบวนการทำ OKR ถ้าหากเกิดปัญหา จะทำให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นปัญหาที่พนักงานกำลังเผชิญได้อย่างตรงจุดและสามารถช่วยกันแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ทันท่วงที

ประโยชน์ของการทำ OKR

  • ช่วยให้องค์กรเติบโตแบบก้าวกระโดด
  • สามารถโฟกัสเป้าหมายและงานที่ต้องทำให้สำเร็จได้อย่างชัดเจน และจับต้องได้
  • การทำ OKR มาพร้อมกับรูปแบบและความโปร่งใส ซึ่งช่วยให้ทุกคนภายในทีมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากขึ้น
  • ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุด
  • ทำให้สามารถประเมินคุณภาพในการทำงานของแต่ละคนได้อย่างแม่นยำ

หลังจากที่เราได้ทราบกันแล้วว่าการทำ OKR มีประโยชน์อย่างไรบ้าง หัวข้อต่อไปเราไปลองดูตัวอย่าง OKR ที่น่าสนใจกันเลยดีกว่าค่ะ

Case Study ตัวอย่าง OKR จากบริษัทระดับโลกอย่าง Google

ตัวอย่าง okr จาก google chrome

ตัวอย่าง OKR จาก Google Chrome : หากย้อนกลับไปที่ปี 2008 หลายคนน่าจะยังไม่รู้จัก Google Chrome ซึ่งแน่นอนว่าเว็บเบราว์เซอร์ที่เราใช้กันอยู่ในสมัยนั้น คือ Internet Explorer แต่ Google Chrome ทำอย่างไร ถึงเอาชนะ Internet Explorer และกลายเป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่ทุกคนเลือกใช้ในปัจจุบัน ?

แน่นอนว่า Sundar Pichai ที่รับหน้าที่ดูแลโปรเจกต์ Google Chrome ในขณะนั้น ได้นำเครื่องมือที่เขียนว่า OKR มาใช้ โดยเขาและทีมได้กำหนดเป้าหมายที่ยากและท้าทายมาก ๆ ซึ่งกำหนดไว้ว่า ทำให้ Google Chrome กลายเป็นเว็บเบราวเซอร์อันดับ 1 ที่ทุกคนใช้กัน ภายใน 3 ปี (2010) หลังจากที่ได้กำหนดเป้าหมายแล้ว พวกเขาได้กำหนดตัวชี้วัด คือ จำนวนผู้ใช้งาน 100 ล้านคน และความเร็วต้องเร็วที่สุด โดยวัดผลด้วยความเร็วต้องเพิ่มขึ้น 20 เท่า

ซึ่งการทำแบบนี้เป็น ตัวอย่าง OKR ที่มีประสิทธิภาพ โดยมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน กระตุ้นให้ทุกคนภายในทีมเกิดความรู้สึกอยากเอาชนะ และผลลัพธ์ที่ชัดเจนและสามารถวัดผลได้จริง ทำให้ในปี 2010 มีผู้ใช้งาน Google Chrome มากถึง 111 ล้านคน!

แชร์เทคนิคนำ OKR มาใช้ภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

หลังจากที่ได้ดูตัวอย่าง OKR ที่ดีกันแล้ว เรามาลองดูเทคนิคที่จะช่วยให้การทำ OKR ประสบความสำเร็จดีกว่า

  1. พนักงานทุกคนในองค์กรต้องเข้าใจหลักการ วัตถุประสงค์ และวิธีใช้ OKR ที่ถูกต้องเสียก่อน ถึงจะทำให้การทำ OKR มีประสิทธิภาพสูงสุดได้
  2. ตั้งเป้าหมายร่วมกัน การตั้งเป้าหมาย OKR ที่เกิดจากความคิดเห็นของทุกคนในทีม ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนเข้าใจทิศทางที่ตรงกันและทำให้การทำ OKR มีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น
  3. ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย แต่ยังคงสามารถเกิดขึ้นได้จริง การตั้งเป้าหมาย OKR ที่ดีแน่นอนว่าต้องกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากชนะ ซึ่งการตั้งเป้าที่เกินความเป็นจริงไปมากจะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกท้อแท้แทนได้ ส่งผลให้ไม่ประสบความสำเร็จ
  4. มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน เช่น เป็นรายสัปดาห์ รายเดือน หรือทุกไตรมาส เป็นต้น
  5. การวัดผลและประเมินต้องมีความโปร่งใส และสามารถเปิดเผยได้ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ

ข้อควรระวังในการตั้ง OKR

นอกจากตัวอย่าง OKR และ เทคนิคการตั้ง OKR แล้ว อย่าลืมที่จะคำนึงถึงข้อควรระวังในการตั้ง OKR เพื่อให้การทำ OKR มีประสิทธิภาพมากที่สุด

  1. ตั้งวัตถุประสงค์ไม่สมดุล อาจจะมีความยากและง่ายมากเกินไป สามารถสังเกตได้จากผลลัพธ์ หากทีมของทุกทำ OKR สำเร็จทุกข้อนั้นอาจจะหมายความว่า วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตอนแรกง่ายเกินไป
  2. ตั้งเป้าหมายที่ไม่สามารถวัดผลลัพธ์ได้ หรือ มีความกำกวมมากเกินไป
  3. นำงานที่ต้องทำอยู่แล้วในทุก ๆ เดือนมาตั้งเป็น OKR เพราะงานเหล่านั้นเป็นงานที่สามารถทำให้เสร็จได้
  4. ตั้งวัตถุประสงค์ในการทำ OKR ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร
  5. ตั้ง OKR มากเกินไป ซึ่งจะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกกดดัน เครียด ท้อแท้ และส่งผลต่อสุขภาพจิต ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

สรุป

หลังจากที่ได้ดูตัวอย่าง OKR กันไปแล้ว หลายคนน่าจะเข้าใจการทำ OKR กันมากขึ้น และได้คำตอบกันแล้วว่าทำไมผู้บริหารหลายคนถึงให้ความสนใจกับการทำ OKR เพราะผลลัพธ์ที่ได้มันคุ้มค่ายังไงล่ะ ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้ระยะเวลา การลองผิดลองถูก ทั้งยังต้องผ่านการระดมความคิดจากทุกคนภายในทีมเพื่อให้การทำ OKR มีประสิทธิภาพมากที่สุด

MANAWORK.COM ระบบที่จะช่วยให้การทำงานของคุณกับทีมกลายเป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ตาม พร้อมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

Digital Tools
MANAWORK Editor MANAWORK Editor · 16 พ.ค. 2566 เวลา 3:58 น.

SUGGEST POSTS