
การทำงานที่มุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จอย่างเดียวนั้นคงไม่พอ จะต้องมีการวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ทราบว่างานที่ดำเนินการไปแล้วนั้นมีประสิทธิภาพที่ดีพอแล้วหรือยัง แล้วจะทำการวัดผลเพื่อบรรลุเป้าหมายแบบยั่งยืนได้อย่างไร? อาจจะต้องมีเครื่องมืออย่าง OKRs มาช่วยในการตั้งเป้าหมายให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
OKRs คืออะไร
OKRs ย่อมาจาก Objectives and Key Results
Objectives คือวัตถุประสงค์ เป็นคำอธิบายในสิ่งที่ต้องการบรรลุ ซึ่งควรเป็นวัตถุประสงค์ในเชิงคุณภาพที่สั้น กระชับ เมื่ออ่านแล้วทีมต้องเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วม และมีประมาณ 3-5 ข้อเท่านั้น
Key Results คือผลลัพธ์ สิ่งสำคัญที่สุดคือการวัดผลลัพธ์ไปที่ความก้าวหน้าไปสู่วัตถุประสงค์ จะมีประมาณ 2-5 ข้อต่อหนึ่ง Objective ซึ่งต้องเป็นไปในเชิงตัวเลขที่สามารถวัดผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจนในทุก ๆ ข้อ
OKRs การวัดผลไปที่เป้าหมายในระยะอันใกล้ ต่างจาก KPI ที่หลายคนรู้จักจะใช้เวลาที่ยาวนานและอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระหว่างทางของเป้าหมาย ซึ่ง OKRs เป็นวิธีการตั้งเป้าหมายที่หลายบริษัทสาย Technologies ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ยกตัวอย่างเช่น Intel, Google, LinkedIn, Spotify, Twitter และ Dropbox
อ่านเพิ่มเติม KPIs หรือ OKRs คือ กุญแจแห่งความสำเร็จขององค์กร คลิก
การตั้งเป้าหมายของ OKRs ต้องชัดเจน และเข้าใจง่าย แต่ไม่ใช่ว่าเป้าหมายต้องง่ายตามไปด้วย ต้องมีความท้าทายเพื่อกระตุ้นให้พนักงานรู้สึกว่าอยากทำให้บรรลุความสำเร็จให้ได้ ที่สำคัญ ต้องไม่ยากจนทีมรู้สึกท้อจนไม่อยากทำตั้งแต่เริ่มต้นล่ะ เพราะ OKRs เป็นเหมือนการสร้างการรับรู้ถึงภารกิจที่ชัดเจนให้กันทีม เมื่อทุกคนรับรู้ถึงเป้าหมายของตนเองในแต่ละส่วนที่ต้องรับผิดชอบอย่างชัดเจนแล้ว หลังจากนี้ก็เป็นการช่วยกันขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้นั่นเอง
ต้นกำเนิด OKRs
เริ่มใช้ในปี 1974 โดย “Andrew Grove” ประธานคณะกรรมการบริหารของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง Intel (Intel Corporation) นั่นเอง เขานำ OKRs เข้ามาใช้คนแรกช่วยให้ Intel ประสบความสำเร็จมากจนเขาได้ชื่อว่า “บิดาแห่ง OKRs” ซึ่งทาง Google ก็ได้นำ OKRs มาใช้และประสบความสำเร็จเช่นกัน ทำให้บริษัทในด้าน Technologies อื่น ๆ นำมาใช้ตามด้วยเป็นจำนวนมาก
ข้อดีของ OKRs
- OKRs จะมุ้งเน้นไปที่เรื่องสำคัญที่มีผละกระทบอย่างมากต่อองค์กร จึงทำให้องค์กรให้ความสำคัญและจริงจังกับการโฟกัสไปที่ผลลัพธ์ และมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าเป้าหมายนั้นมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีปัญหาติดขัดหรือไม่ จะช่วยให้การ Support หรือสนับสนุนพนักงานได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด
- OKRs จะกำหนดให้มีการตั้งเป้าหมายในระยะสั้น ตั้งได้ตั้งแต่ 3 เดือนถึง 1 ปี แต่ไม่ควรเกินนั้นไปมาก ซึ่งทำให้พนักงานทุกคนมีทิศทางในการทำงานที่ชัดเจน และการที่กำหนดกรอบระยะเวลาของการทำงานที่สั้นแบบนี้จะช่วยให้องค์กรมีประสิทธิภาพในการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
- OKRs จะช่วยส่งเสริมองค์กรให้มีการตั้งเป้าหมายที่ท้าทายและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร เมื่อพนักงานทุกคนสามารถดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายที่ท้าทายนี้ ก็จะยิ่งช่วยให้องค์กรเติบโต ช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันขององค์กรให้สูงขึ้น
- OKRs ช่วยสนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีม (Team Collaboration) เกิดขึ้นในองค์กร ลดปัญหาการขัดแย้งกัน และยังเป็นพื้นที่ให้กับพนักงานได้มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะในการทำงานได้อีกด้วย
- OKRs ช่วยทำให้เกิดการตัดสินใจบางอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีข้อมูลที่มากขึ้นจากการวัดผลลัพธ์ของการทำงานจนบรรลุเป้าหมาย
หากมีการนำ Project Management Tools เข้ามาเป็นตัวช่วยในการวัดผลของ OKRs จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลและตรวจสอบได้ง่ายมากขึ้น อีกทั้งทีมก็สามารถเข้าไปอัปเดตความคืบหน้าในเป้าหมายของตัวเอง เพื่อให้การเห็นผลลัพธ์ที่เป็นไปอย่างชัดเจน สามารถระบุระยะเวลาของการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
MANAWORK มีฟีเจอร์ Goal/OKRs ที่รองรับการตั้งเป้าหมายให้คุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทดลองใช้งานได้ฟรี! 30 วัน คลิก
ต้องเตรียมอะไรบ้างในการทำ OKRs
- เริ่มจากการทำความเข้าใจกับเป้าหมายขององค์กรของคุณก่อน เมื่อคุณเข้าใจในวิสัยทัศน์แล้วคุณก็จะสามารถกำหนดเป้าหมายออกเป็น OKRs ของทีมที่นำไปปฏิบัติได้ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจของคุณให้ก้าวไปข้างหน้า โดยมีการระบุอย่างชัดเจนว่า OKRs ของแต่ละคนคืออะไร จะช่วยให้ทุกคนดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน
- เลือกเครื่องมือที่เหมาะสม เพราะการมีเครื่องมือหรือ Project Management Tools สำหรับจัดการงานเป็นสิ่งสำคัญ ตั้งแต่การวางแผนการทำงาน การทำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ไปจนถึงการติดตามความคืบหน้าของเป้าหมายนั้น ๆ ซึ่ง MANAWORK เรานอกจากจัดการงานบริหารทีมแล้ว ยังมีฟีเจอร์ Goal สำหรับการตั้ง OKRs ที่ช่วยกำหนดเป้าหมายให้ทีมดำเนินการตาม OKRs ที่กำหนดได้อีกด้วย ทุกงานและเป้าหมายรวมกันอยู่บนแพลตฟอร์มเดียวทำให้ตรวจสอบและติดตามความคืบหน้าได้ครบจบในแพลตฟอร์มเดียว
- สร้างทีมให้มีส่วนร่วมกัน ซึ่งการกำหนด OKRs นั้น ทีมของคุณต้องรับรู้ข้อมูลและรายละเอียดอย่างชัดเจน และร่วมกันกำหนด OKRs เพื่อให้พวกเขารู้สึกมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น และได้แสดงความคิดเห็นอย่างโปร่งใส หากหัวหน้าเป็นผู้กำหนด OKRs ให้อย่างเดียว พนักงานจะไม่รู้เลยว่าเป้าหมายนั้นตรงกับความสามารถของพวกเขาและจะเกิดความท้าทายจริง ๆ หรือไม่ จึงต้องให้ผู้ปฏิบัติและผู้ติดตามมีส่วนร่วมกันในการกำหนด OKRs นั่นเอง
- กำหนดรายละเอียด Objectives ของ OKRs หรือวัตถุประสงค์ของ OKRs พร้อมคำอธิบายสั้น ๆ ซึ่งอาจจะเกิดความรู้สึกที่อึดอัดที่ต้องทำอะไรที่มันยากขึ้นหรือท้าทายขึ้น แต่นี่จะเป้นสิ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพให้เกิดขึ้นกับพนักงานทุกคนได้
- ผลลัพธ์คือสิ่งสำคัญที่จะต้องมีการวัดความก้าวหน้าในการดำเนินการไปสู่วัตถุประสงค์ที่สำเร็จ เหมือนกับการเดินทางที่ต้องมีจุดหมายปลายทาง เพื่อให้คุณกำหนดเส้นทางในการดำเนินไปได้อย่างถูกต้อง โดยผลลัพธ์ที่คุณกำหนดจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ที่คุณกำหนดในข้อ 4 โดยอย่าลืมว่าต้องวัดผลได้ง่าย โดยเฉพาะผลลัพธ์ที่เป็นตัวเลข จะเป็นจุดหมายได้อย่างชัดเจน
- วางแผน ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการจะลงมือทำอะไรสักอย่าง ต้องมีการวางแผนเพื่อกำหนดเส้นทางให้ดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันเพื่อมุ่งมั่นไปสู่ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
- ติดตามผลลัพธ์อย่างสม่ำเสมอ การทำงานไปอย่างไม่มีการติดตาม คุณก็จะไม่รู้เลยว่าสิ่งที่แต่ละคนทำไปนั้นมีประสิทธิภาพมากพอไหม หรือมีปัญหาข้อติดขัดอะไรตรงไหนบ้าง การตั้งเป้าหมายก็จะเกิดประโยชน์ได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร การกำหนด OKRs ลงบน Project Management Tools จะช่วยให้ OKRs ของคุณสามารถติดตามและตรวจสอบได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และเพิ่มการประชุมประจำสัปดาห์เข้าไปในเรื่องของ OKRs เพื่อให้เห็นความคืบหน้าระหว่างทางได้ดียิ่งขึ้น โดยทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นหรือพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไม่รู้สึกกังวล เพราะทุกคนจะได้ร่วมมือกันช่วยกันแก้ปัญหาให้กับทีม
อ่านเพิ่มเติม OKRs Template ของ MANAWORK คลิก
อ้างอิง: https://hypercontext.com/blog/work-goals/how-to-write-okrs
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คลิก!!!👉 https://manawork.com/
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทางทีมงานได้ทาง Facebook หรือ Line
นัดเดโม่ / ข้อเสนอแบบองค์กร ติดต่อได้ที่ 063-535-1193 (ทีมมานะ)
— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — —
#MANA มานะ
