
ในทุกการทำงาน หลายคนคงเคยได้รับหน้าที่ในการเป็นผู้นำ ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าเสมอไป ซึ่งภาวะการเป็นผู้นำเป็นทักษะที่สำคัญมาก โดยเฉพาะการทำงานเป็นทีม เพราะผู้นำมีผลโดยตรงต่อความสำเร็จของทีม และเป็นคนหาแนวทางแก้ไขปัญหาของทุกคนให้เหมาะสมที่สุด
ความสำคัญของผู้นำ
ผู้นำมีอิทธิพลต่อการทำงานและยังเป็นทักษะติดตัวที่สามารถพัฒนาได้ ผู้นำสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คน จูงใจทีมให้พัฒนาทักษะการทำงานให้เพิ่มขึ้นไปอีกระดับ และสามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมาช่วยเหลือทีมได้ในยามคับขัน การมีผู้นำที่ดีส่งผลให้ผลลัพธ์ของงานและระหว่างทางการทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น หากมีผู้นำที่ไม่ดีก็อาจทำให้ระหว่างทางนั้นขรุขระและไม่มีประสิทธิภาพได้ ดังนั้น ผู้นำจึงสำคัญมากในองค์กร เพราะพวกเขามีส่วนช่วยผลักให้องค์กรพุ่งทะยานไปสู่เป้าหมายที่สำเร็จได้นั่นเอง
6 สไตล์การเป็นผู้นำ
1. The Affiliative Style - ผู้นำแบบส่งเสริมความร่วมมือ
ผู้นำที่ให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นอันดับแรก คอยสร้างความสัมพันธ์และสร้างความสามัคคีกันภายในทีม เพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในทีม ซึ่งต้องเป็นคนที่เข้าใจสภาวะอารมณ์ของสมาชิกในทีมคอยสังเกตพฤติกรรมหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและอาจส่งผลกระทบต่องานได้ เหมาะกับช่วงที่เกิดความแตกแยกภายในทีม
2. The Authoritative Style - ผู้นำแบบเผด็จการ
ผู้นำสไตล์นี้จะเห็นความคิดของตนเองเป็นใหญ่ ไม่เปิดโอกาสให้ผู้อื่นแสดงความคิดเห็นหรือโต้แย้งใด ๆ คาดหวังให้ทุกคนในทีมยอมรับคำแนะนำและปฏิบัติตามในทันที เพราะจะมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์และประสิทธิภาพเป็นหลัก ไม่มีเวลามาเอาใจหรือสนใจความคิดเห็นของทีมมากนัก ผู้นำลักษณะนี้อาจทำให้พนักงานรู้สึกว่าถูกจำกัดอยู่ในกรอบ ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ลดน้อยลงได้ ผู้นำสไตล์นี้จึงเหมาะกับองค์กรที่มีแนวทางการปฏิบัติที่เข้มงวดหรือมีกฎระเบียบที่เคร่งครัด
3. The Coaching Style - ผู้นำแบบโค้ช
หัวหน้าผู้ให้แนวทางกับทีมในการพัฒนาศักยภาพของทีมงานทุกคน รู้จุดอ่อน จุดแข็ง และแรงจูงใจของสมาชิกในทีมได้อย่างรวดเร็ว เพื่อสนับสนุนให้ทุกคนปรับปรุง และเสริมส่วนที่ขาด ผู้นำสไตล์นี้มักชอบช่วยเหลือทีมโดยการให้ Solution ที่ชาญฉลาด ถ่ายทอดความรู้ แนะนำทิศทางให้ทีมแต่ละคนนำกลับไปคิดต่อยอดพัฒนาตนทักษะเองได้โดยที่ไม่ต้องสอนหรือบอกอะไรทั้งหมด เน้นไปที่การพัฒนาทักษะที่ถนัดและมองหาความสามารถของแต่ละคนในทีมที่ซ่อนเร้นอยู่ จุดประกายโดยการมอบหมายงานใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มความท้าทายให้ทีมเปิดเผยทักษะที่มีแบบไม่รู้ตัวออกมาได้ และทีมก็จะกล้าเข้ามาปรึกษาทั้งเรื่องงานหรือแม้กระทั่งเรื่องส่วนตัว เพราะผู้นำสไตล์นี้จะเพิ่มพลังบวกให้กับพวกเขาได้ การเป็นผู้นำแบบโค้ชเหมาะกับช่วงที่คุณมีเวลาดูแลและใส่ใจพนักงาน
4. The Democratic Style - ผู้นำแบบประชาธิปไตย
ชื่อสไตล์ก็บ่งบอกชัดเจนอยู่แล้วว่าผู้นำสไตล์นี้มีลักษณะอย่างไร ซึ่งผู้นำแบบประชาธิปไตยมักฟังความคิดเห็นของทีมก่อนตัดสินใจเสมอ โดยให้ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็นและพิจารณาก่อนตัดสินใจ ไม่แบ่งว่าใครตำแหน่งสูงหรือต่ำกว่าใครเพราะทุกคนเท่าเทียมกันหมด พนักงานสามารถรู้สึกมีคุณค่า มีตัวตน และเป็นหนึ่งเดียวกันกับทีม อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ทีมได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองในการฝึกแสดงความคิดเห็น ซึ่งเหมาะกับการทำงานที่มีช่วงเวลาที่ยาวนาน ไม่เร่งรีบในการค้นหาไอเดียและเป้าหมายระยะยาวให้สำเร็จ
5. The Pace-setting Style - ผู้นำแบบทำเป็นตัวอย่าง
ผู้นำมีหน้าที่ผลักดันให้ทีมวิ่งให้เร็วและก้าวให้ไกลเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายอย่างสมบูรณ์ ซึ่งผู้นำแบบนี้จะเน้นการทำให้ดู ทำให้เห็น ไม่ใช่การออกคำสั่งเพียงอย่างเดียว เพราะทุกการกระทำทุกคนเห็นแล้วจะรับรู้ และปฏิบัติตามโดยอัตโนมัติ หรือทำให้ฉุดคิดได้ว่า “ผู้นำเรายังทำแบบนี้เลย แล้วเราจะไม่ทำได้เหรอ” ซึ่งเหมาะกับการทำงานที่ต้องเร่งให้ทันเดดไลน์
6. The Transformative Style - ผู้นำที่สร้างการเปลี่ยนแปลง
ผู้นำที่พร้อมเปลี่ยนแปลงกับสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลดีต่อองค์กร ตั้งแต่การคิดนอกกรอบเดิม ๆ นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ มีการนำ Project Management Tools มาช่วยจัดการภายในองค์กร เป็นต้น ไม่เพียงแค่สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อองค์กรเท่านั้น ยังต้องสร้างการรับรู้การเปลี่ยนแปลงให้กับพนักงานทุกคนในองค์กรเข้าใจและเลิกยึดติดกับสิ่งเดิม ๆ หรือการสร้าง Growth Mindset แบบเดียวกันให้เกิดขึ้นในองค์กร ซึ่งการจะไปถึงเป้าหมายได้ก็ต้องเกิดความท้าทายใหม่ ๆ และยากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้นำสไตล์นี้จะมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตไปข้างหน้าอย่างไม่มีวันหยุด เหมาะกับองค์กรยุคใหม่ที่ทำ Digital Transformation เพื่อตามให้ทันคู่แข่งในโลกธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง
อ่านเพิ่มเติม Growth Mindset เท่ากัน แต่สำเร็จไม่เท่ากัน? คลิก
คุณสามารถเลือกเป็นผู้นำในสไตล์ที่เหมาะสมกับตัวคุณ หรือเลือกใช้ตามความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ การเป็นผู้นำไม่ควรสร้างกำแพงกับคนในทีมเพียงเพราะตัวเองมีอำนาจมากกว่า แต่การเป็นผู้นำคือกำลังหลักที่ผลักดันให้ทีมก้าวไปข้างหน้า วันนี้ถ้าคุณเป็นสมาชิกในทีมขอให้คุณจำในสิ่งที่คุณต้องการเอาไว้ ในวันหน้าคุณอาจได้ก้าวเข้าไปเป็นผู้นำของทีม คุณจะได้เข้าใจความต้องการของทีมอย่างแท้จริง
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คลิก!!!👉 https://manawork.com/
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทางทีมงานได้ทาง Facebook หรือ Line
นัดเดโม่ / ข้อเสนอแบบองค์กร ติดต่อได้ที่ 063-535-1193 (ทีมมานะ)
— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — — —
#MANA มานะ
