
[เจาะลึก] Action Plan คืออะไร? พร้อมตัวอย่างการทำแบบเข้าใจง่าย ๆ

ในการทำงานไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ แน่นอนว่าทุกฝ่ายจำเป็นต้องอาศัยการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การทำงานออกมาบรรลุตามวัตถุประสงค์ แล้วเมื่อเป็นเช่นนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่า การทำงานของแต่ละฝ่ายมีความสอดคล้องกันมากแค่ไหน หรือจะทำสำเร็จได้ตามเป้าหมายหรือไม่ เราจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมืออย่าง Action Plan ที่จะช่วยกำหนดแผนการดำเนินงานทั้งหมดนั่นเอง ซึ่งในบทความนี้เราจะพามาเจาะลึกกับ Action Plan คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร องค์ประกอบมีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างการทำ Action Plan แบบเข้าใจง่าย ๆ
Action Plan คืออะไร?
Action Plan คือ แผนปฏิบัติการทำงาน ที่ผ่านการคิดและการวางแผนมาอย่างละเอียดแล้ว เพื่อเป็นตัวกำหนดแผนการดำเนินงานทั้งหมดให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือกล่าวง่าย ๆ คือ ถูกสร้างมาให้เป็นแบบแผนในการปฏิบัติงาน โดยจะระบุรายละเอียดในแต่ละช่วงของการปฏิบัติงานว่า มีกิจกรรมอะไรบ้าง หรือมีการปฏิบัติงานกันอย่างไร ซึ่ง Action Plan นี้จะช่วยตรวจสอบการทำงานในแต่ละขั้นตอนของแผนปฏิบัติการทำงาน ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายนั่นเอง
นอกจากนี้การใช้ Action Plan ยังสามารถบ่งบอกได้ถึงความสำเร็จของแต่ละงานได้ด้วย ช่วยให้ทุกคนที่มีความเกี่ยวข้องกับงาน มีแนวโน้มเข้าใจและปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งก็จะช่วยให้การทำงานสำเร็จได้อย่างราบรื่น เร็ว และง่ายขึ้น
องค์ประกอบของ Action Plan มีอะไรบ้าง
Action Plan ที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้
- ชื่อแผนงาน (Name) ในการทำงานแต่ละชิ้นจำเป็นจะต้องระบุชื่อแผนงานให้ชัดเจน เพราะจะช่วยให้คนในทีม หรือคนที่เกี่ยวข้องกับชิ้นงานสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง และไม่สับสน
- กระบวนการทำงาน หรือขั้นตอนการทำงาน (Process) โดยจะต้องระบุขั้นตอนหลัก ๆ ไว้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย
- กิจกรรมการทำงาน (Activity) คือสิ่งที่เอาไว้ระบุสิ่งที่ต้องทำในแต่ละขั้นตอนของการทำงาน เพื่อกำหนดให้ทีมหรือผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน
- กำหนดช่วงระยะเวลา (Deadline) โดยเราจะต้องระบุช่วงระยะเวลาของแต่ละกิจกรรม และขั้นตอนทั้งหมดของกระบวนการทำงานว่าเริ่มและสิ้นสุดเมื่อใด เพื่อตรวจสอบความสำเร็จในแต่ละขั้นตอน
- แผนสำรอง (Back up plan) ควรมีไว้ในกรณีแผนที่วางไว้เกิดมีปัญหาหรืออุปสรรค ดังนั้นจึงควรมีแผนสำรองเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย
- ประเมินความเสี่ยง (Risk) ที่อาจเกิดขึ้นในแผนการทำงานทั้งหมด รวมถึงในแต่ละกิจกรรมด้วย
- ผู้รับผิดชอบ (Owner) ในแผนการทำงานทั้งหมด จะต้องมีผู้รับผิดชอบเพื่อคอยตรวจสอบและติดตามงานทั้งกระบวนการ เพื่อให้งานสำเร็จตามแผนที่วางไว้
- งบประมาณ (Budget) ขั้นตอนใด ๆ ที่กำหนดไว้จะต้องคำนึงถึงงบประมาณที่ตั้งเอาไว้ด้วย เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
ประโยชน์ของการทำ Action Plan

- Action Plan เปรียบเสมือนแผนที่ที่มีความชัดเจน สามารถมองเห็นได้ทั้งเส้นทาง กิจกรรมระหว่างทาง รวมไปถึงปัญหาและอุปสรรค อีกทั้งยังต้องปฏิบัติเป็นลำดับขั้นตอนภายในระยะเวลาที่กำหนด
- ผู้รับผิดชอบงานสามารถประเมินและติดตามงานในแต่ละกิจกรรมได้ว่า มีการดำเนินไปถึงไหนแล้ว มีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้หรือไม่ เป็นต้น
- ช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับทีมหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงาน มุ่งไปที่เป้าหมายอย่างมั่นคง
Action Plan สำคัญอย่างไรต่อการทำงาน
หากคุณกำลังคิดว่างานที่ทำอยู่กำลังเจอกับอุปสรรค หรือยังไม่ค่อยเห็นขั้นตอนการทำงานอย่างชัดเจน หรือไม่ก็ไม่ทราบว่าควรปรับแผนการทำงานไปในทิศทางใด การที่มีตัวช่วยวางแผนการปฏิบัติงานอย่าง Action Plan จะช่วยให้งานที่คุณรับผิดชอบอยู่นั้นค่อย ๆ กระจ่างขึ้น คุณจะมองเห็นภาพรวมของการทำงานได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังทำให้เราทราบว่าควรดำเนินงานไปในทิศทางไหน เพื่อให้ไปสู่ผลสำเร็จได้เร็วขึ้น
ตัวอย่างการทำ Action Plan ใช้ได้จริง แบบเข้าใจง่าย

หลักการทำ Action Plan ที่นิยมใช้กันอย่างหลากหลายคือ วงล้อของเดมิ่ง หรือ Deming Circle โดยจะประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบหลัก PDCA ดังนี้
- P (Plan) คือ การวางแผน โดยการตั้งเป้าหมายและสร้างแผนการทำงาน เช่น วัตถุประสงค์ของโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน ขอบเขตการทำงาน เป็นต้น เพื่อทำให้เป้าหมายนี้สำเร็จ
- D (Do) คือ การปฏิบัติ โดยการลงมือทำงาน ซึ่งระหว่างการปฏิบัติงานสามารถค้นหาจุดเด่น-จุดอ่อน เพื่อนำมาพัฒนาให้ดีขึ้นได้
- C (Check) คือ การติดตามและตรวจสอบการทำงาน เพื่อหาแนวทางพัฒนาขั้นตอนต่าง ๆ ให้ดีขึ้น
- A (Action) คือ การประเมินผลที่เกิดขึ้น โดยนำผลลัพธ์ที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุง แก้ไข
โดยตัวอย่างของการทำ Action Plan ตามหลักวงล้อของเดมิ่ง มีดังนี้
ชื่อโครงการ: พัฒนารูปแบบการขายออนไลน์ปลายปี (ไตรมาสสุดท้าย)
วัตถุประสงค์ของโครงการ: ทำยอดขายให้ได้เกิน 30% จากต้นปี (ไตรมาสแรก) ภายในระยะเวลา 4 เดือน
ผู้รับผิดชอบ: คุณ A
- Plan
- เจาะกลุ่มเป้าหมายเดิมและเป้าหมายใหม่ ในรูปแบบ Digital Marketing หลากหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการยิงแอด ทำคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย เป็นต้น
- มีการปรับเปลี่ยนโปรโมชั่น ทุก ๆ 1 เดือน
- ทบทวนการทำงาน และปรับปรุงแผนงาน ทุก ๆ สัปดาห์ 2 สัปดาห์
- Do
- เตรียมลงสื่อโฆษณาทางออนไลน์ภายใน 3 วัน
- หากพบว่ายอดขายไม่ได้ตามเป้าภายใน 1 สัปดาห์ ให้เปลี่ยนแผน เช่น เปลี่ยนการนำเสนอคอนเทนต์ หรือปรับเปลี่ยนโปรโมชั่น
- มีการทบทวนแผนงานทุก ๆ 2 สัปดาห์
- Check
มีการจดบันทึก หรือเขียนรายงานพร้อมปัญหาหรืออุปสรรคที่เจอ รวมถึงคำแนะนำเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขทุก ๆ 2 สัปดาห์
- Action
ปฏิบัติตามแนวทางที่ได้แก้ไข และยังคงมีการจดบันทึกทุกวันเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา พัฒนาเพิ่มเติม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้
สรุป
Action Plan คือหนึ่งในหัวใจสำคัญในการช่วยดำเนินธุรกิจ หรือการทำงานภายในองค์กรต่าง ๆ เป็นกระบวนการที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งเป้าเอาไว้ได้
สำหรับผู้ที่มองหาตัวช่วยในการจัดระเบียบขั้นตอนการทำงาน MANAWORK เป็นหนึ่งในระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร โดยระบบมีตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย วางแผนการทำงาน ไปจนถึงติดตามการทำงาน ช่วยให้ผู้ใช้งานทำงานได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น เรียกได้ว่ามีหลักการทำงานที่คล้ายกับ Actio Plan เลยทีเดียว
ผู้ที่สนใจอยากติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MANAWORK สามารถติดต่อได้ตามรายละเอียดดังนี้
เบอร์โทรติดต่อ: (+66) 52 005 402 หรือ (+66) 63 535 1196
อีเมล: info@manawork.com
Facebook: facebook.com/manawork.th
