
OKR คืออะไร? ทำไมจึงเป็นรูปแบบการตั้งเป้าหมายที่ใคร ๆ ก็สนใจ

สำหรับปีที่ผ่านมามีหลายบริษัทที่เปลี่ยนจาก KPI มาเป็น OKR ซึ่งทำให้หลาย ๆ คนเกิดความสงสัยว่า OKR คืออะไร ทำไมบริษัทยักษ์ใหญ่หลายบริษัท ไม่ว่าจะเป็น Intel หรือ Google ถึงตัดสินใจที่จะเปลี่ยนรูปแบบการตั้งเป้าหมายเป็น OKR แทน KPI
บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยว่าจริง ๆ แล้ว OKR คืออะไร? มีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร? และ การทำ OKR ดีกว่า KPI จริงหรือ? ลองหาคำตอบที่คุณสงสัยไปพร้อมกันในบทความนี้!
OKR คืออะไร

Objective and Key Result หรือ OKR คือ เครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดเป้าหมายและกำหนดตัวชี้วัดผล โดยมีหลัก 2 หลักการ ดังนี้
- กำหนดวัตถุประสงค์ (Objective) และเป้าหมายที่ต้องการทำให้สำเร็จ โดยเป้าหมายที่ตั้งจำเป็นต้องมีความชัดเจน เข้าใจง่าย และความท้าทาย ไม่ง่ายและไม่ยาก สามารถลงมือปฏิบัติได้จริง ซึ่งการตั้งเป้าหมายที่ยากเกินไปอาจจะทำให้พนักงานเกิดความท้อแท้ ไม่รู้สึกอยากทำตั้งแต่ยังไม่เริ่ม
- กำหนดตัวชี้วัด (Key result) ที่ชัดเจนและสามารถวัดผลได้จริง โดยต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการวัดผลที่ชัดเจนตั้งแต่ก่อนเริ่ม
ทั้งนี้การตั้งเป้าหมายของ OKR ส่วนใหญ่มักจะเป็นเป้าหมายที่ทำได้ยาก และทำให้พนักงานเกิดความท้าทาย เป็นกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากเอาชนะ อยากทำให้สำเร็จ ซึ่งความรู้สึกอยากเอาชนะนี้เองจะกลายเป็นพลังที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จและก้าวหน้าได้อย่างก้าวกระโด
ประโยชน์ของ OKR ต่อองค์กร
หลังจากที่เรารู้แล้วว่า OKR คืออะไร เรามาดูประโยชน์ของ OKR ที่มีต่อองค์กรกันบ้างดีกว่า โดยประโยชน์ที่ทำให้หลายบริษัทเลือกทำ OKR ได้แก่
- OKR ช่วยสร้างแรงผลักดันให้พนักงานเกิดการพัฒนาตนเอง การทำ OKR ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การพัฒนาทักษะและสกิลต่าง ๆ ที่พนักงานจำเป็นต้องมีหรือควรมี ซึ่งแน่นอนว่าการทำ OKR จะเป็นการช่วยเพิ่มทักษะและศักยภาพในการทำงานของพนักงานด้วย
- OKR ช่วยให้องค์กรและบุคลากรเติบโตไปพร้อมกัน การทำ OKR เป็นการสร้างความท้าทายและตั้งเป้าหมายที่ค่อนข้างยาก เพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงาน เมื่อพนักงานสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ แน่นอนว่าศักยภาพที่เพิ่มมากขึ้นก็สามารถนำมาพัฒนาองค์กรต่อได้ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโต
- มองเห็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ข้อดีข้อการทำ OKR อีกอย่าง คือ สามารถทราบปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานได้อย่างชัดเจน และสามารถหาสาเหตุได้ ซึ่งทำให้ผู้บริหาร หรือ หัวหน้าทีมสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
OKR vs KPI ต่างกันอย่างไร

นอกจากคำถามว่า OKR คืออะไรแล้ว บางคนยังสับสนระหว่าง OKR กับ KPI ว่าแตกต่างกันอย่างไร แม้ว่าบางคนอาจจะคิดว่า OKR ก็เหมือนกับ KPI แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้ง 2 อย่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยความแตกต่างระหว่าง OKR และ KPI มีดังนี้
- อย่างแรกการทำ OKR เป็นระดมความคิดที่มางานพนักงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานโดยส่วนใหญ่ หรือที่เรียกว่า Bottom-up ในขณะที่ KPI จะเป็นการกำหนดโดยผู้บริหารหรือหัวหน้าทีม (Top-down)
- OKR จะเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน โดยจะไม่เชื่อมโยงกับผลตอบแทน ในขณะที่ KPI จะเกี่ยวข้องกับผลตอบแทนที่จะได้รับโดยตรง
- OKR จะมีการวัดผลที่สั้นกว่า KPI โดย OKR มักจะวัดผลภายใน 3 เดือน แต่ KPI มักจะมีการวัดผลเป็นรายครึ่งปี หรือ รายปี
- OKR จะมีการประกาศให้พนักงานทุกคนรับรู้ร่วมกัน
- การทำ OKR จะเน้นไปที่การทบทวนและปรับปรุงผลงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
การทำ OKR ที่ดีควรเป็นอย่างไร
อย่างที่ได้พูดไปก่อนหน้านี้ว่า การทำ OKR ที่ดีควรมีการกำหนดเป้าหมายและตัววัดผลที่ชัดเจน โดยการกำหนดเป้าหมายของการทำ OKR คือ ต้องทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกท้าทายและกระตุ้นให้อยากทำ ซึ่งเป้าหมายต้องทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน ต้องสามารถลงมือปฏิบัติ และสามารถวัดผลได้จริง
ในขณะที่ตัวชี้วัดผลจำเป็นต้องมีการกำหนดค่าเอาไว้ชัดเจน เช่น ค่าเปอร์เซ็นต์ที่ 1-100% และต้องกำหนดกรอบระยะเวลาวัดผลไว้ โดยส่วนใหญ่การกำหนดระยะเวลาวัดผลจะขึ้นอยู่กับโปรเจกต์ที่รับผิดชอบ หากองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยอาจจะเป็นการวัดผลในทุกเดือน หรือ ทุกไตรมาส
แนะนำ ซอฟต์แวร์ หรือ แพลตฟอร์มในการทำ OKR ที่ง่ายและเป็นแบบแผน

สำหรับองค์กรที่ยังใหม่กับการทำ OKR การวัดผลและตรวจสอบกระบวนการต่าง ๆ นั้น ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะปัจจุบันมีแพลตฟอร์มที่ช่วยให้การทำ OKR กลายเป็นเรื่องง่าย ได้แก่การใช้ฟีเจอร์ Goal/OKRs จาก MANAWORK เครื่องมือที่จะช่วยในการวัดผลลัพธ์ และช่วยบริหารจัดการงานและทีมได้อย่างมีคุณภาพ ทำให้คุณสามารถมองเห็นภาพรวมเป้าหมายองค์กร เป้าหมายระดับทีม หรือเป้าหมายระดับบุคคล และสามารถตรวจสอบความคืบหน้าของเป้าหมายได้แบบ Real-time
ฟีเจอร์ Goal/OKRs จาก MANAWORK ถูกออกแบบมาให้สามารถทำงานร่วมกันได้ทุกแผนก ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน โดยคุณสามารถตั้งเป้าหมายพร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาการวัดผล สามารถสร้างเป็นโปรเจกต์ร่วม หรือโปรเจกต์รายบุคคล โดยสามารถสร้าง Key Results หรือ Sub-Key Results ย่อยสำหรับเป้าหมายได้ และเมื่อบรรลุเป้าหมายก็สามารถอัปเดทความคืบหน้า เพื่อให้หัวหน้าทีม สามารถเห็นความคืบหน้าของเป้าหมายขององค์กร ทีมจึงทราบได้ว่าเป้าหมายใดกำลังใกล้ความสำเร็จ หรือยังอยู่ในระดับที่เสี่ยงต่อความล้มเหลวได้อย่างชัดเจน
สรุป
ในปัจจุบันมีเครื่องมือซอฟต์แวร์ และแพลตฟอร์มมากมายที่จะช่วยให้องค์กรของคุณเติบโตและประสบความสำเร็จ ซึ่งการทำ OKR ก็เป็นหนึ่งในนั้น การเข้าใจและใช้งาน OKR อย่างถูกต้องจะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่การทำ OKR จะไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าหากผู้ใช้งานไม่เข้าใจกรอบแนวคิด OKR คืออะไร รวมไปถึงการวัดผลลัพธ์แบบผิดๆ
ซึ่งหัวใจหลักในการทำ OKR ได้แก่ การตั้งเป้าหมายที่ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน และการกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนที่สามารถวัดผลได้จริง
MANAWORK.COM ระบบที่จะช่วยให้การทำงานของคุณกับทีมกลายเป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ตาม พร้อมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
- Facebook: Manawork
- E-mail: support@manawork.com
- โทร. (+66) 52 005 402 หรือ (+66) 63 535 1193
