Agile

Scrum คืออะไร? สามารถนำมาใช้งานจริงในองค์กรได้อย่างไรบ้าง?

Scrum คืออะไร สามารถนำมาใช้งานจริงในองค์กรได้อย่างไรบ้าง?

Scrum คือ

จากบทความก่อนหน้านี้ที่เราได้มีการพูดถึงแนวคิดการทำงานแบบ Agile หลายคนน่าจะรู้จักและเคยได้ยินคำว่า Scrum (สกรัม) มากันบ้าง แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้ว Scrum คืออะไร แล้วจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานจริง ๆ กับการทำงานได้อย่างไร

วันนี้ MANAWORK จะมาช่วยไขข้อสงสัยทุกอย่างเกี่ยวกับ Scrum ไม่ว่าจะเป็น Scrum คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และนำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างไร ถ้าพร้อมแล้วไปค้นหาคำตอบพร้อมกันเลย

Scrum คืออะไร ?

Scrum คือ Framework ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อนของโปรเจกต์ที่มีการแบ่งขั้นตอนการทำงานออกเป็นย่อย ๆ จำนวนมาก หรือ โปรเจกต์ที่จำเป็นต้องมีการติดต่อประสานงานหลายฝ่าย และมีการปรับปรุงแก้ไขงานอย่างต่อเนื่อง โดย Scrum เปรียบเสมือนเป็นกรอบการจัดการที่สามารถช่วยจัดระเบียบให้กับทีม และ ช่วยให้ทีมสามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

Scrum มีประโยชน์อย่างไร

หลังจากที่ทราบกันแล้วว่า Scrum คืออะไร เรามารู้ประโยชน์ของ Scrum กันบ้างดีกว่า ว่าการทำ Scrum มีประโยชน์อะไรบ้าง

  1. Scrum ช่วยกำหนดทิศทางของกระบวนการทำงาน ว่าควรมีและไม่ควรมีอะไรบ้าง
  2. ช่วยให้กระบวนการทำงานรวดเร็วและมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. ช่วยทำให้ทีมทราบถึงปัญหาและสามารถแก้ไขได้ทันที
  4. เพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์
  5. ช่วยพัฒนาและยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ให้นานมากขึ้น
  6. ประหยัดเวลาและลดต้นทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

บทบาท และ ตำแหน่งในทีม Scrum

ตำแหน่งในทีม Scrum

การทำงานโดยใช้แนวคิด Scrum คือ การเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการทำงาน โดยจะแบ่งหน้าที่ในทีมออกเป็น 3 บทบาทใหญ่ ๆ ได้แก่

1. Product Owner

เป็นตำแหน่งที่ต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้า ธุรกิจ และกลุ่มเป้าหมาย และทำหน้าที่ประเมินคุณภาพของงาน และ วางแผนจัดลำดับความสำคัญของงานให้กับทีม พร้อมทั้งคอยติดต่อประสานงานระหว่างทีมและลูกค้า

2. Scrum Master

ตำแหน่ง Scrum Master เปรียบเสมือนผู้ให้คำปรึกษาและคอยแก้ไขปัญหาที่เจอระหว่างกระบวนการทำงาน ช่วยให้ทีมทำงานบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้อย่างราบรื่น แม้ว่าตำแหน่งจะไม่ใช่ผู้ที่คอยตัดสินใจ หรือ ผู้นำทีม แต่ก็เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญเพราะจะช่วยจัดการปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

3. Development team

สำหรับตำแหน่ง Development team มีหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ ข้อกำหนด และความต้องการของลูกค้า โดยภายในทีมจะประกอบไปด้วยอีกหลาย ๆ ตำแหน่ง เช่น Tester , Programmer , UX/UI , Writer และอื่น ๆ ประมาณ 3-9 คน ซึ่ง Concept ของ Development team คือ Autonomy ทำให้ทุกคนมีอำนาจในการตัดสิน เพื่อให้กระบวนการทำงานรวดเร็ว ทั้งนี้นอกจากรวดเร็วแล้วต้องมาพร้อมกับคุณภาพด้วย

Scrum Artifacts

หลังจากที่ได้ทราบแล้วว่า Scrum คืออะไร พร้อมทั้งเข้าใจตำแหน่งในทีมแล้ว เรามาทำความรู้จักกับ Scrum Artifacts กันดีกว่า

โดย Scrum Artifacts คือ เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการการทำงาน แก้ปัญหาระหว่างการทำงาน และการสรุปผลลัพธ์ที่ได้ โดยประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่

1. Product Backlog

เป็นการลิสต์สิ่งที่จำเป็นต้องทำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น ฟีเจอร์ ฟังก์ชัน ข้อกำหนดและข้อควรระวังต่าง ๆ พร้อมทั้งวางลำดับความสำคัญของงาน โดย Product Owner จะเป็นผู้รับผิดชอบส่วนนี้

2. Sprint Backlog

เป็นการดึงเข้า Product Backlog มาลงดีเทลและรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ต้องทำอะไรบ้างในแต่ละขั้นตอน ซึ่งขั้นตอนนี้สมาชิกภายในทีมทุกคนต้องเข้าถึงได้ง่ายและสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา

3. Increment

เป็นการประเมินคุณภาพ Product Backlog โดยถ้าหาผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาเสร็จ และสมบูรณ์ตรงตามวัตถุประสงค์และข้อตกลงที่กำหนดไว้ นั้นหมายถึงว่า Increment นั้นสำเร็จและสามารถนำไปใช้ได้จริง

กิจกรรมของ Scrum (Scrum Event)

การทำกิจกรรมของ Scrum คือ ขั้นตอนที่จะช่วยให้สามารถตรวจสอบงาน ติดตามผล และช่วยลดการประชุมที่ไม่จำเป็นในแต่ละวัน โดยการทำ Scrum ส่วนมักประกอบไปด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่

  1. Sprint Planing เป็นการวางแผนว่าภายในเวลา 2 สัปดาห์จะต้องทำงานอะไรบ้าง พร้อมทั้งออกแบบวิธีการทำงานที่สามารถทำได้จริง และ สามารถวัดผลได้ ทั้งนี้ระยะเวลาอาจจะปรับเปลี่ยนไปตามรูปแบบการทำงานของแต่ละทีม
  2. Stand-up หรือ Daily Scrum เป็นการประชุมประจำวันในระยะเวลาสั้น ๆ มัก ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที โดยเน้นให้แจ้งความคืบหน้าของงานและปัญหาที่เจอในวันที่ผ่านมา
  3. Sprint Review เป็นการตรวจสอบและวัดผลงาน โดยจะทบทวนว่าระหว่างทำงานเจอปัญหาอะไรบ้าง แก้ไขยังไง พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าและผลลัพธ์ของงาน นอกจากนี้จะมีการทบทวนทิศทางของตลาดและสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์
  4. Sprint Retrospective เป็นการตรวจสอบการทำงานหลังจากจบงานแล้ว โดยสมาชิกภายในทีมจะแจ้งถึงสิ่งที่จำเป็นต้องปรับปรุงในการทำงาน พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการทำงานในอนาคต

สรุป

หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว หลายคนน่าจะเข้าใจกันแนวคิดการทำงาน Scrum คืออะไรกันมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันที่เทคโนโลยีได้มีการพัฒนาก้าวไกลไปมากกว่าสมัยก่อน การทำงานในรูปแบบเดิม ๆ อาจจะไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป

การทำงานภายใต้แนวคิดแบบ Scrum จะช่วยให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพและคุณภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุนและเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย สำหรับผู้ที่สนใจสามารถลองนำแนวคิดการทำงานแบบ Scrum ไปปรับใช้ตามความเหมาะสมได้

และสำหรับผู้ที่ต้องการให้ระบบการทำงานภายในองค์กรของคุณเป็นระบบระเบียบ มีแบบแผนมากยิ่งขึ้น และสามารถติดตามงานได้ตลอด คล้ายการทำงานภายใต้แนวคิด Scrum MANAWORK เป็นระบบที่ช่วยให้การจัดการเป็นเรื่องง่าย ตั้งแต่การวางแผนด้วยกระบวนการที่เป็นมาตรฐานให้กับทีม ทำให้ติดตามความคืบหน้าและตรวจสอบงานได้ทุกที่ทุกเวลา เหมาะมาก ๆ กับการทำงานในยุคใหม่ ดังนั้นคุณและทีมก็สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและสามารถวัดผลลัพธ์การทำงานได้ดียิ่งขึ้น

หากมีข้อสงสัย หรือสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทางทีมงาน สามารถติดต่อได้ตามรายละเอียดต่อไปนี้


AgileTeamwork
MANAWORK Editor MANAWORK Editor · 6 มิ.ย. 2566 เวลา 3:37 น.

SUGGEST POSTS